การตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วยผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่โดยการทบทวนวรรณกรรมและใช้เทคนิค Focus group
ลักษณา จันทราโยธากร พย.บ , พรธิดา ชื่นบาน วท.บ, พย.ม.
งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลแพร่
บทคัดย่อ:
ความสำคัญ: แนวทางการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วยผ่าตัด ทั้ง 3 ระยะคือก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและ สื่อสารให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้ป่วยจากสถิติของห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2555 - 2557 พบมีอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจำนวน 5 รายเป็นผลให้ผ่าตัดผิดตำแหน่ง ผ่าตัดผิดหัตถการ ส่งชิ้นเนื้อผิดคน และเกือบผ่าตัดผิดหัตถการ 1 รายจากการติดผลการอ่านชิ้นเนื้อผิดคนมากับแฟ้มประวัติผู้ป่วย องค์การอนามัยโลกได้ประกาศไว้ในโครงการ WHO’Second Global Patient Safety Challenge และ Safe Surgery Saves Lives Program เมื่อปี พ.ศ.2551 โดยแนะนำให้สถานพยาบาลใช้ การตรวจสอบเพื่อเพิ่มความปลอดภัย (Surgical Checklist) ในห้องผ่าตัดเพื่อช่วยลดความผิดพลาดในทุกระยะของการผ่าตัดที่อาจจะเกิดขึ้น และลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
วัตถุประสงค์: ห้องผ่าตัดมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วยผ่าตัด
รูปแบบ สถานที่ ผู้เข้าร่วมวิจัย: นวัตกรรม สถานที่ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค ผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 33 คน สิงหาคม-กันยายน 2557
วิธีการวัดผล: ศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับการทำกลุ่มสัมภาษณ์ (Focus Group) การสังเกต การตอบแบบสอบถามจากพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค ผู้ช่วยพยาบาล นำผลสรุปจากการทบทวนวรรณกรรมและการทำกลุ่มมาบูรณาการเป็นข้อตกลงสรุปเป็นแนวทางปฎิบัติ นำแนวทางมาประยุกต์ใช้ และทดลองปฏิบัติ ปรับตามข้อเสนอของกลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิ และสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติตามบริบทของหน่วยงาน
ผลการศึกษา :เจ้าหน้าที่ที่นำมาศึกษา 33 ราย พบว่าเป็นพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการมากสุด
ร้อยละ54.55 อายุการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไปพบมีร้อยละ 57.58 เป็นแผนกปฎิบัติงานที่ห้องผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไปร้อยละ 57.58 อยู่ในบทบาทสมาชิกทีมมากสุดถึงร้อยละ57.58
ในเวลาราชการร้อยละ 57.58พบเป็นเวลาและความถี่ตรวจสอบความถูกต้องผู้ป่วยได้มากสุด ความถี่ในการตรวจสอบได้ทำทุกครั้งร้อยละ 81.82 และบางส่วนไม่ทำ หรือทำไม่ทันเกิดจาก การทำงานหลายอย่างพร้อมกันขณะเป็นพยาบาลรอบนอก แพทย์รีบเร่ง ไม่สามารถหยุดทีมผ่าตัดทำ time out ได้ ขาดความมั่นใจในการทำพบถึงร้อยละ 87.88 ส่วนใหญ่การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วยที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานพบไม่มี ร้อยละ 78.79เวลาที่มักเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วยพบนอกเวลาราชการร้อยละ 57.58 ซึ่งสาเหตุมาจากการไม่ปฏิบัติตามแนวทางการตรวจสอบผู้ป่วย การปฏิบัติไม่ครบถ้วน ข้อมูลการตรวจสอบไม่ครอบคลุม นอกจากการตระหนักของทีมผ่าตัดที่ต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วยผ่าตัดทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แล้วทางผู้ศึกษาได้ทำการทบทวนวรรณกรรม ใช้เทคนิค Focus group การตอบแบบสอบถาม และการสังเกตทีมผ่าตัดขณะเริ่มนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดจนสิ้นสุดการผ่าตัดได้ข้อสรุปดังนี้ การตรวจสอบผู้ป่วยผ่าตัดก่อนเริ่มให้ยาระงับความรู้สึก (sign in)ตรวจสอบชื่อ-สกุลผู้ป่วย ชนิดการผ่าตัด ใบยินยอมผ่าตัด ศัลยแพทย์ผ่าตัด ตำแหน่งผ่าตัด Implant ที่ใส่ ผล x-ray CT MRI ผลชิ้นเนื้อกรณีตัดอวัยวะ กรุ๊ปเลือด,ใบขอเลือด ประวัติการแพ้ยา การตรวจสอบผู้ป่วยก่อนลงมีดผ่าตัด ( Time out) พยาบาลรอบนอกต้องกล่าวยืนยันต่อหน้าทีมผ่าตัด ศัลยแพทย์ วิสัญญี โดยขานชื่อ สกุลผู้ป่วย ตำแหน่งผ่าตัด ชนิดการผ่าตัด ศัลยแพทย์ผ่าตัด ข้อควรระวังเป็นพิเศษขณะผ่าตัด และการตรวจสอบผู้ป่วยก่อนนำออกจากห้องผ่าตัด(sign out) ศัลยแพทย์สรุปการวินิจฉัยหลังผ่าตัด การสูญเสียเลือด ทีมผ่าตัดตรวจนับเครื่องมือ ผ้าซับโลหิต ของมีคม อุปกรณ์ ท่อระบาย อุปกรณ์เทียม สิ่งส่งตรวจ x-ray หลังผ่าตัด
ข้อยุติและการนำไปใช้: ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่มีแนวทางการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วยผ่าตัดที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนจากการทบทวนวรรณกรรมและใช้เทคนิค Focus group เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการผ่าตัด
คำสำคัญ: การตรวจสอบความถูกต้องผู้ป่วยผ่าตัด , Sign in ,Time out, sign out |