การเพิ่มองศาการเหยียดงอข้อเข่าหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการบริหารเข่า โรงพยาบาลแพร่
มัลวีร์ สมบุตร พย.บ. , อรทัย วงค์ขันธ์ พย.บ., พิมวรา หนองแส พย.บ.
หอผู้ป่วยสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลแพร่
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาเรื้อรัง การรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้ผู้ป่วยกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ควรได้รับการฝึกทักษะบริหารกล้ามเนื้อขา และการบริหารข้อเข่าเพิ่มประสิทธิผลในการรักษา ลดระดับความเจ็บปวด เพิ่มระดับความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อเข่าหลังผ่าตัดได้ดี
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาองศาการเหยียด งอข้อเข่าหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมบริหารเข่า
รูปแบบการรักษา : Intervention แบบ Interrupted time design
สถานที่ : หอผู้ป่วยสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลแพร่ วิธีการศึกษา : ศึกษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลแพร่ตั้งแต่ 1 เมษายน 2557 ถึง 30 กันยายน 2557 โดยมีการแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ใช้โปรแกรมจะได้รับการบริหารเข่า 6 ท่า ร่วมกับการใช้เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่อง แล้ววัดองศาการเหยียดงอข้อเข่า การสังเกตอาการบวม ลักษณะแผล การประเมิน PS
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมมีการเหยียดได้มากขึ้น 6.1 งอได้มากขึ้น 30.1 ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมมีการเหยียดได้มากขึ้น 9.7 งอได้มากขึ้น 34.2 องศามีแนวโน้มอาการปวดลดลงมากกว่าและ
อาการบวมลดลงมากกว่า
ลักษณะ
|
ไม่ใช้โปรแกรม
|
ใช้โปรแกรม
|
|
mean
|
SD
|
mean
|
SD
|
P-value
|
การเหยียดได้มากขึ้น (องศา)
|
6.1
|
5.3
|
9.7
|
9.2
|
0.205
|
การงอได้มากขึ้น (องศา)
|
30.1
|
21.1
|
34.2
|
16.6
|
0.562
|
อาการปวดลดลง (ระดับ0-10)
|
2.2
|
1.5
|
2.7
|
2.1
|
0.490
|
อาการบวมลดลง (n ,%)
|
2
|
14.3
|
4
|
25.0
|
0.657
|
ข้อยุติการนำไปใช้: ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมควรได้รับโปรแกรมการบริหารเข่าทุกรายเนื่องจากการศึกษานี้พบว่ามีแนวโน้มการเหยียด งอข้อเข่าเพิ่มขึ้น ลดอาการปวดและบวมได้มากขึ้น
คำสำคัญ: TKA ,โปรแกรมการบริหารเข่า,การเคลื่อนไหวข้อเข่า,อาการปวด,อาการบวม |