การใช้แนวคิด Enesgise For Excellenu (E4E) เพื่อเพิ่มการปฏิบัติตาม Bundles และลดอัตราการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับคาสายสวนปัสสาวะ
ปริญญา ประสานจิตร
งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลแพร่
บทคัดย่อ
ความเป็นมา :การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นปัญหาสำคัญในสามอันดับแรกของการติดเชื้อในโรงพยาบาลสูงถึงร้อยละ 40 และเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล ถึงแม้ว่าได้นำหลักฐานเชิงประจักษ์ และยึดข้อกำหนดของ CDC มากำหนด Bundles มาใช้เพื่อเน้นการปฏิบัติเพื่อลดการติดเชื้อ แต่ยังพบว่าบุคลากรมีการปฏิบัติไม่ครอบคลุมตามแนวปฏิบัติ ได้มีการวิจัยถึงการพัฒนาคุณภาพโดยใช้กรอบแนวคิด Energise for Excellence (E4E) พบว่าลดความเสี่ยงสำคัญของโรงพยาบาลที่สำคัญ เช่น แผลกดทับ การพลัดตกหกล้ม และการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะได้
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องของการปฏิบัติและอัตราการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับคาสายสวนปัสสาวะระหว่างช่วงเลาก่อนและหลังการใช้แนวคิด Energise for Excellence (E4E)
รูปแบบการศึกษา: Intervention แบบ Interrupted time series
สถานที่ศึกษา: หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่
วิธีการศึกษา: ศึกษาในพยาบาลวิชาชีพทุกคนที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุกรรม ที่ทำการสวนปัสสาวะและดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ ก่อนการใช้แนวคิด Energise for Excellence (E4E) รวบรวมข้อมูลความถูกต้องของการปฏิบัติ และอัตราการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับคาสายสวนปัสสาวะ ภายหลังการใช้กรอบแนวคิด Energise for Excellence (E4E) 3เดือนและ 6 เดือน ทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ ให้ความรู้แก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมใน 3 เดือนแรก และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและกำหนดนโยบาย/แนวปฏิบัติต่างๆ กำหนด Bundle และกำหนด Care pathway ในการป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา กำหนดแบบฟอร์มการบันทึกต่างๆ เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูล นำ Bundles สู่การปฏิบัติ Clinical audit, feedback และ coaching เพื่อติดตามกำกับการปฏิบัติ และประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินการวิจัย เปรียบเทียบกลุ่มที่ศึกษาด้วย Exact probability test และ nonparametric test for trend
ผลการศึกษา: จากการติดตามความถูกต้องของการปฏิบัติในช่วงก่อนใช้แนวคิด และหลังใช้แนวคิดในเดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 ใน Bundle ที่ 1 การสวนปัสสาวะ มีการปฏิบัติถูกต้องเพิ่มขึ้นในทุกกิจกรรม ยกเว้น การล้างมือก่อนและหลังจากการสวนปัสสาวะ Bundle ที่ 2 การดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะมีการปฏิบัติถูกต้องเพิ่มขึ้นทุกกิจกรรม ยกเว้น การระบายปัสสาวะเป็นระบบปิดตลอดเวลา Bundle ที่ 3 การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ และใน Bundle ที่ 4 การเทน้ำปัสสาวะ มีการปฏิบัติถูกต้องเพิ่มขึ้นในทุกกิจกรรม ในเดือนที่ 3 และ 6 อัตราการติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงจาก ก่อนการใช้แนวคิด คือจาก 13.9 ต่อ 1000 วันที่คาสายสวนปัสสาวะ เป็น 10.1 และ 7.3 ต่อ 1000 วันที่คาสายสวนปัสสาวะตามลำดับ (p=.033) ในช่วงที่ศึกษามีปัญหาที่ทำให้การปฏิบัติกิจกรรมการล้างมือไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก มีปัญหาในการจัดหาสบู่และแอลกอฮอล์เช็ดมือ
ข้อยุติ: กรอบแนวคิด Energise for Excellence (E4E) มีผลต่อการต่อเพิ่มการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะและลดอัตราการติดเชื้อได้ |